คำแนะนำการเลือกใช้และการเลือกซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เลือกใช้สารชนิดที่ถูกต้องกับชนิดของศัตรูพืช
เฉพาะกรณีที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้ง
………………………………………………..
ภาชนะที่บรรจุไม่แตกหรือรั่ว มีฝาปิดมิดชิด มีฉลากถูกต้องชัดเจน
ประกอบด้วยชื่อเคมี ชื่อสามัญของสารออกฤทธิ์และชื่อการค้าระบุปริมาณของสารออกฤทธิ์และสารอื่นๆ ที่ผสม
ชื่อผู้ผลิตและแหล่งผลิต วันหมดอายุ (ถ้ามี) หรือวันผลิต คำอธิบาย ประโยชน์
วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน คำอธิบายอาการเกิดพิษการแก้พิษเบื้องต้นและคำแนะนำสำหรับแพทย์

การขนส่งและการเก็บรักษา

  1. แยกการขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชจากสิ่งของอย่างอื่น โดยเฉพาะคน สัตว์ และอาหาร
  2. เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในภาชนะเดิมเท่านั้น อย่าถ่ายภาชนะโดยเด็ดขาด
  3. ควรเก็บสารไว้ในโรงเก็บที่แยกจากที่พักโดยไม่ปะปนกับสิ่งของอื่นๆ หรืออาหารปลอดภัยห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยง แหล่งกำเนิดไฟและไม่ชื้นแฉะ ควรติดป้ายเตือนและใส่กุญแจ
  4. การทำลายวัตถุมีพิษและภาชนะบรรจุสาร
  5. เลือกสถานที่จะขุดหลุมฝังภาชนะบรรจุสารที่ใช้หมดแล้วให้ห่างจากแหล่งน้ำและที่พักอย่างน้อย 50 เมตร เป็นพื้นที่ไม่ใช้ประโยชน์ และขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร ใช้ปูนขาวรองก้นหลุม
  6. ทำลายภาชนะบรรจุโดยการตัดหรือทุบทำลายให้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกแล้วฝังในหลุมที่เตรียมไว้และกลบดินให้มิดชิด
  7. ห้ามนำภาชนะที่ใช้แล้วมาล้าง และนำไปบรรจุสิ่งของอย่างอื่นโดยเด็ดขาด
  8. ห้ามเผาพลาสติกหรือภาชนะบรรจุสารชนิดที่มีความด้นภายใน เพราะจะทำให้เกิดการระเบิดได้
  9. เมื่อมีสารเปรอะเปื้อนพื้นให้ใช้ดินหรือขี้เลื้อยหรือปูนขาวดูดซับและนำไปฝังดินที่ห่างไกลแหล่งน้ำ
  10. ติดป้ายที่ฝังภาชนะบรรจุสารแล้วล้อมรั้วเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่เก็ดและสัตว์เลี้ยง

ข้อปฏิบัติในการใช้สาร

  1. ก่อนใช้อ่านฉลากโดยตลอดให้เข้าใจอย่างละเอียดถูกต้องและปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ไม่ใช้เกินอัตราที่กำหนด และห้ามผสมสารตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปในการพ่นครั้งเดียว ยกเว้นกรณีที่แนะนำให้ใช้
  2. ตรวจสอบชิ้นส่วนสำคัญของเครื่องพ่นสาร ดูการรั่วซึมของเครื่อง สายยาง รอยต่อ และประเก็นต่างๆ หากพบให้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนส่วนที่ชำรุดทันที
  3. สวมใส่ชุดป้องกันสาร ได้แก่ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง แว่นตา หน้ากากให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สารถูกผิวหนัง เข้าตาหรือหายใจเข้าไป
  4. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ตวงสารตามอัตราส่วนที่ฉลากแนะนำโดยใช้ถ้วยตวงหรือช้อน การผสมควรทำอย่างระมัดระวังอย่าใช้มือผสมให้ใช้ไม้กวนหรือคลุกให้เข้ากัน
  5. ขณะที่ฉีดพ่นควรอยู่เหนือลดเสมอ หยุดพักเมื่อลมแรงหรือมีลมหวน และควรพ่นสารในตอนเช้าหรือตอนเย็น
  6. อย่าสูบบุหรี่หรือดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารขณะใช้สาร
  7. อย่าใช้ปากเปิดขวดหรือเป่าดูดสิ่งอุดตันที่หัวฉีด ควรทำความสะอาดด้วยแปรงอ่อนๆ หรือต้นหญ้า
  8. ระวังไม่ให้ละอองสารปลิวเข้าหาตัวและถูกคน สัตว์เลี้ยง บ้านเรือน อาหารและเครื่องดื่มของผู้ที่อยู่ข้างเคียง
  9. ในขณะทำงานหากร่างกายเปื้อนสารต้องรีบล้างน้ำและฟอกสบู่ให้สะอาดทันที ก่อนที่สารจะซึมเข้าสู่ร่างกาย
  10. สารที่ผสมเป็นสารละลายแล้วไม่ได้ใช้ ไม่ควรเก็บไว้ใช้อีก ควรฉีดพ่นให้หมดทุกครั้งที่ผสมใช้
  11. ติดป้ายห้ามเข้าบริเวณที่พ่นสารและหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวตามที่ฉลากระบุเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
  12. ทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นลงไปในพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ห่างจากแหล่งน้ำ
  13. ซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะพ่นสารแยกต่างหากจากเสื้อผ้าอื่น แล้วอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที
  14. ถ้ารู้สึกไม่สบายให้หยุดใช้สารแล้วรีบไปพบแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุสารที่มีฉลากปิดอยู่ครบถ้วน หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำในฉลากก่อนส่งสถานีอนามัยและโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

ข้อควรระวัง
ในการพ่นสารเคมีปราบศัตรูพืช

  • ในการพ่นสารเคมีปราบศัตรูพืชหรือชาวบ้านเรียกว่า ยาฆ่าแมลงต้องระมัดระวังอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีพิษและอันตรายสูง ส่งผลโดยตรงต่อคนและสัตว์เลี้ยงดังนั้น ก่อนการจะใช้สารเคมีฆ่าแมลงจะต้อง ศึกษาข้อมูลประกอบการใช้งานหรือเอกสารกำกัลการใช้งาน และควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดอันตรายจากสารเคมีฆ่าแมลง

  • ต้องสวมหน้ากากและถุงมือยาง ใส่เสื้อผ้าปิด ร่างกายให้มิดชิด ระวังละอองสารเคมีมิให้เข้าปาก จมูกและถูกร่างกาย 
  • ควรต้องศึกษาทิศทางของลมก่อนการทำงาน โดยควรเดินพ่นสารเคมีให้ฟุ้งกระจายตามลมหรือ พ่นในทิศทางขวางงลม ห้ามเดินทวนลมเป็นอันขาดเพราะสารเคมีที่พ่นกระจายในไปอากาศจะกลับเข้าโดนร่างการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
  •  ห้ามสูบบุหรี่ขณะพ่นสารเคมี และควรล้างมือ ให้สะอาดก่อนการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
  • เมื่อหัวฉีดอุดตัน ห้ามใช้ปากเป่า ควรถอดออก ล้างน้ำให้สะอาด หรือใช้เข็มแยง
  •  เมื่อพ่นสารเคมีเสร็จแล้ว ควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำชำระล้างร่างกาย ฟอกสบู่และสระผมให้สะอาดทุกครั้ง เสื้อผ้าที่ใช้ในการปฏิบัติงานควรซักให้สะอาดด้วยทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของสารเคมี จะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  •  ควรมีน้ำสะอาด สบู่หรือผงซักฟอกเตรียมไว้ให้พร้อมใกล้ ๆ กับที่พ่นสารเคมี ( อยู่ในที่มิดชิด ละอองของสารเคมีเข้าไม่ถึง ) เผื่อมีเหตุฉุกเฉินโดนสารเคมีเข้าตา หรือปาก หรือสัมผัสโดนร่างกาย  จะได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และชำระล้างได้ทันทีท่วงที ก่อนจะไปพบแพทย์
  •  เมื่อมีอาการแน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่น ไส้ หรือเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการพ่น สารเคมี หรือหลังการพ่นสารเคมี   ให้หยุดทำงานทันที จากนั้นให้เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วรีบไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว 
  • ภาชนะที่บรรจุสารเคมีฆ่าแมลง เช่น ขวด กระป๋อง ถุง ฯลฯ เมื่อใช้หมดแล้วให้ทำลายทิ้งเสีย โดยอาจจะใช้วิธีฝังกลบดินก็ได้ ห้ามนำไปบรรจุอาหารหรือน้ำดื่ม ทั้งคนและสัตว์เป็นอันขาด เพราะถึงแม้จะล้างแล้วก็ไม่สามารถ ทำให้สารพิษที่ติดค้างอยู่หมดไปได้ 
  • เก็บสารเคมีปราบศัตรูพืชในที่ที่มิดชิด ให้พ้นมือเด็กและห่างจากสัตว์เลี้ยง ควรมีห้องเก็บต่างหากเพื่อความปลอดภัย     อุปกรณ์การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ไม่ควรนำไปล้างในบ่อน้ำหรือแหล่งเก็บน้ำต่าง ๆ ( ของชุมชน ) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและผู้ใช้น้ำบริเวณนั้นได้

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
อย่างถูกต้องและปลอดภัย

  1. เลือกปลูกพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคแมลงศัตรูพืช หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ปลอดโรค
  2. ดูแลรักษาให้พืชแข็งแรงสมบูรณ์ เช่น รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่ง เป็นต้น
  3. หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยดูสภาพของพืช น้ำ ปุ๋ย ศัตรูธรรมชาติ ศัตรูพืช และความเสียหายที่เกิดขึ้น
  4. วิเคราะห์และตัดสินใจเลือกใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสม โดยใช้วิธีผสมผสาน เช่น ปลูกพืชหมุนเวียนหรือพืชคลุมดิน ปรับวันปลูก ใช้กับดัก อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ นำส่วนที่มีโรคแมลงมาเผาทำลายการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกรณีที่มีการระบาดมาก เป็นต้น
  5. ถ้าไม่แน่ใจเกี่ยวกับชนิดของโรคแมลงศัตรูพืชหรือมีปัญหาการระบาดของศัตรูพืชและวิธีการป้องกันกำจัดควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้ที่ฝ่ายป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด กลุ่มงานอารักขาพืชภาค สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค สำนักงานเกษตรอำเภอ

Infographics | เกร็ดความรู้

ขอขอบคุณ อินโฟกราฟิกดีๆ จากเว็บไซต์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์